วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ประเมินผลงาน 100 คะแนน

ขอให้เพิ่อนๆ ครู ญาติและผู้มีเกียรติทั้งหลายร่วมประเมินผลงาน โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน
ขอขอบคุณทุกท่าน :))



^_______________^

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วัตถุตกจากบอลลูน

วัตถุตกจากบอลลูน
วัตถุตกจากยานพาหนะจะมีความเร็วเท่ากับยานและมีทิศเดียวกันกับยานพาหนะนั้น


วัตถุที่ตกจากบอลลูนมีการเคลื่อนที่ 3 กรณี

1. บอลลูนลอยขึ้นด้วยความเร็ว V

ถุงทรายที่ตกจากบอลลูนจะมีความเร็ว V เท่ากับบอลลูนและ
มีทิศขึ้นเหมือนบอลลูน และเมื่อถุงทรายหลุดจากบอลลูนจะเคลื่อนที่แบบตกอิสระ
ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ความเร่ง = - g m/s กำลัง 2

2. บอลลูนลอยอยู่นิ่ง ๆ ถุงทรายตกลงมา

ถุงทรายจะมีความเร็วต้น = 0
ความเร่ง g เป็นบวก (+)


.บอลลูนลอยลงด้วยความเร็ว u

ถุงทรายจะตกลงมาด้วยความเร็วต้น u
ความเร่ง +g

ที่มา : http://www.streesmutprakan.ac.th/teacher/sci/Physnan/motion/motion9.htm

การเคลื่อนที่ในแนวดิ่งและการตกอิสระ

การเคลื่อนที่ในแนวดิ่งและการตกอิสระ

.วัตถุเคลื่อนที่โดยตกแบบอิสระ วัตถุจะตกด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกเท่านั้น
โลกจะดึงดูดวัตถุด้วยความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง g = 9.80665 m/s กำลัง 2
ใช้ค่าประมาณ 9.8 หรือ 10

จุดสูงสุดคือ จุดที่มีความเร็วเป็นศูนย์
ระยะทาง คือ พื้นที่ใต้กราฟ



2. โยนวัตถุจากหน้าผาแล้วกลับตกถึงพื้น
กำหนดโยนวัตถุด้วยความเร็วต้น u จากหน้าผาขึ้นไปถึงจุดสูงสุดแล้วตกลงมา

สรุปสูตรในการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งที่วัตถุตกภายใต้แรงโน้มถ่วง g
วัตถุเคลื่อนที่ในแนวดิ่งภายใต้แรงโน้มถ่วง g




การเคลื่อนที่ในวินาทีที่ t ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก



การใช้สูตรคำนวณ
u = ความเร็วต้น
v = ความเร็วปลาย
t = เวลา
s = การกระจัด
g = ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก
โดย ปริมาณทุกปริมาณเป็นปริมาณเวคเตอร์ ยกเว้น t (เวลา)เป็นปริมาณสเกลาร์ จึงต้องใช้เครื่องหมายกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่
กำหนดทิศของ u เป็น + เสมอ ปริมาณใดมีทิศสวนทิศ u ปริมาณนั้นเป็น -


ข้อสังเกต

1. ปล่อยวัตถุ U = 0
2. จุดสูงสุด V = 0
3. ความเร็วขาขึ้นเท่ากับความเร็วขาลง แต่ทิศทางตรงกันข้าม
4. วัตถุที่ตกจากยานพาหนะจะมีความเร็วเท่ากับยานและมีทิศเดียวกับยาน
5. วัตถุพบกันเวลาต้องเท่ากัน


ที่มา : http://www.streesmutprakan.ac.th/teacher/sci/Physnan/motion/motion7.htm

การเคลื่อนที่แนวราบ

การเคลื่อนที่แนวราบ

การคำนวณหาความสัมพันธ์ ระหว่าง ความเร็วต้น (u) ความเร็วปลาย (V)
ความเร่ง (a) เวลา (t) การกระจัด (s) เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงที่

1. ความสัมพันธ์ ระหว่าง ความเร็วต้น ความเร็วปลาย ความเร่ง เวลา

2. ความสัมพันธ์ ระหว่าง ความเร็วต้น ความเร็วปลาย เวลา การกระจัด

3. ความสัมพันธ์ ระหว่าง ความเร็วต้น ความเร่ง เวลา การกระจัด

4. ความสัมพันธ์ ระหว่าง ความเร็วต้น ความเร่ง เวลา การกระจัด

ข้อสังเกต ปริมาณทุกปริมาณเป็นปริมาณเวคเตอร์ยกเว้น t จึงต้องแทนเครื่องหมายกำกับ
กำหนดให้ ทิศของ U เป็น + ปริมาณที่สวนทิศ U เป็น -

ที่มา : http://www.streesmutprakan.ac.th/teacher/sci/Physnan/motion/motion5.htm

การเปลี่ยนแกนกราฟ

การเปลี่ยนกราฟระหว่าง การกระจัด(S) - เวลา(t) ความเร็ว(V ) - เวลา(t) และ
ความเร่ง(a) - เวลา(t)
ต้องทราบความสัมพันธ์ดังนี้

1. พิจารณาจากความสัมพันธ์ของปริมาณ การกระจัด ความเร็ว และความเร่ง
1. กราฟระหว่าง การกระจัด(S) - เวลา(t) ความชันของกราฟนี้คือ ความเร็ว
ถ้าเปลี่ยนเป็นกราฟ ความเร็ว(V ) - เวลา(t) ก็เปลี่ยนจากความชัน

2. กราฟระหว่าง ความเร็ว(V ) - เวลา(t) ความชันของกราฟนี้คือ ความเร่ง
ถ้าเปลี่ยนเป็นกราฟ ความเร่ง(a) - เวลา(t) ก็เปลี่ยนจากความชัน

2. ความชันของกราฟ
1. ความชันเป็นศูนย์กราฟขนานแกนนอน

2. ความชันคงที่กราฟเป็นเส้นตรง

3. ความชันไม่คงที่ ถ้าเพิ่มขึ้นกราฟจะโค้งหงาย ถ้าความชันลดลงกราฟจะโค้งคว่ำ

3. พิจารณา
1. อัตราเร็ว

2. ความเร่ง

กรณี กราฟที่กำหนดให้ข้อมูลเป็นตัวเลขและสามารถหาความชันได้
นักเรียนต้องหาความชันของกราฟก่อน เช่น กราฟระหว่าง การกระจัด-เวลา
ความเร็วคือความชันของกราฟ สามารถหาขนาดของความเร็วได้แล้วจึงค่อยเขียนกราฟระหว่าง ความเร็ว - เวลา

ที่มา : http://www.streesmutprakan.ac.th/teacher/sci/Physnan/motion/motion33.html

ความเร่ง

ความเร่ง
คือ ความเร็วที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลา เป็นปริมาณ เวคเตอร์ หรืออัตราการเปลี่ยนความเร็ว

ถ้าข้อมูลให้เป็นกราฟ ความเร็ว กับ เวลา (V-t) ความเร่ง = ความชัน (slope)

ความเร่งขณะหนึ่ง คือ ความเร่งในช่วงเวลาสั้น ๆ ในกรณีที่เราหาความเร่ง

เมื่อ t เข้าใกล้ศูนย์ ความเร่งขณะนั้นเราเรียกว่าความเร่งขณะหนึ่ง
ถ้าข้อมูลเป็นกราฟ หาได้จาก slope ของเส้นสัมผัส

ความเร่งเฉลี่ย คือ อัตราส่วนระหว่างความเร็วที่เปลี่ยนไปทั้งหมดกับช่วงเวลาที่เปลี่ยนความเร็วนั้น

ที่มา : http://www.streesmutprakan.ac.th/teacher/sci/Physnan/motion/motion3.htm

อัตราเร็ว - ความเร็ว

อัตราเร็ว

..................อัตราเร็ว คือระยะทางในหนึ่งหน่วยเวลา เป็นปริมาณสเกลาร์

แต่ถ้าเป็นระยะทางทั้งหมดใน 1 หน่วยเวลา เรียกว่าอัตราเร็วเฉลี่ย
อัตราเร็วขณะหนึ่ง คือ อัตราเร็วในช่วยเวลาสั้น ๆ หรือ อัตราเร็วที่ปรากฏขณะนั้น
ี่

อัตราเร็วคงที่ หมายถึง วัตถุที่เคลื่อนที่มีอัตราเร็วสม่ำเสมอตลอดการเคลื่อนที่ไม่ว่าจะวัดอัตราเร็ว
ณ ตำแหน่งใดจะมีค่าเท่ากันตลอดการเคลื่อนที่ หรือบอกได้ว่า อัตราเร็ว ขณะใด ๆ มีค่าเท่ากับ อัตราเร็วเฉลี่ย

การคำนวณหาปริมาณต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับอัตราเร็ว
1. การหาอัตราเร็ว
1.1. เมื่อกำหนดระยะทางและเวลาในการเคลื่อนที่

1.2. เมื่อกำหนดข้อมูลเป็นกราฟ ระหว่าง การกระจัดกับเวลา ( s - t )
คำนวณหาอัตราเร็วได้จากความชันของกราฟ
โดย อัตราเร็ว = ความชัน (slope)

อัตราเร็วคงที่กราฟจะเป็นกราฟเส้นตรง

2. การคำนวณหาอัตราเร็วขณะใดขณะหนึ่ง
คำนวณหาได้จาก ความชันของเส้นสัมผัส ณ ตำแหน่งที่หาอัตราเร็ว

หมายเหตุ เป็นกราฟเส้นตรง อัตราเร็วขณะใดขณะหนึ่งเท่ากับอัตราเร็วเฉลี่ย


ความเร็ว

ความเร็ว คือ การขจัดในหนึ่งหน่วยเวลา เป็นปริมาณเวคเตอร์
หน่วยเป็น เมตร/วินาที ( m/s )

ถ้ากำหนดข้อมูลเป็นกราฟ ระหว่าง การกระจัดกับเวลา ( s - t ) คำนวณหาความเร็วได้จาก
ความชันของกราฟ ความเร็วคงที กราฟจะเป็นกราฟเส้นตรง
ความเร็ว = ความชัน


ความเร็วขณะหนึ่ง

คือความเร็วที่ปรากฏขณะนั้น หรือความเร็วในช่วงเวลาสั้น ๆ

.ถ้า t เข้าใกล้ศูนย์ ความเร็วขณะนั้นเราเรียกว่าความเร็วขณะใดขณะหนึ่ง


ถ้าข้อมูลเป็นกราฟ หาได้จาก slope ของเส้นสัมผัส

ข้อสังเกต
1. การเคลื่อนที่แนวเส้นตรงโดยไม่ย้อนกลับ การกระจัดกับระยะทางมีค่าเท่ากัน
2. วัตถุเคลื่อนที่ย้อนกลับ เช่น วัตถุเคลื่อนที่จาก A ไป B แล้วย้อนมาที่ C
การกระจัดและระยะทางมีค่าไม่เท่ากัน

ที่มา : http://www.streesmutprakan.ac.th/teacher/sci/Physnan/motion/motion2.htm